กฎกระทรวง ในบริเวณที่มีสิ่งติดตั้งและกลอุปกรณ์ที่ใช้ในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม พ.ศ. 2555 -----------------------------------------------------
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 14 (2) แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ข้อ 1 ให้ยกเลิก (1) กฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2514) ออกตามความในพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 (2) กฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2524) ออกตามความในพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ข้อ 2 ในบริเวณที่มีสิ่งติดตั้งและกลอุปกรณ์ที่ใช้ในการเจาะหลุมปิโตรเลียมบนบก ผู้รับสัมปทานต้อง กำหนดเขตปลอดภัยและจัดให้มีเครื่องหมายตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้ (1) กำหนดเขตปลอดภัยให้มีระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร จากส่วนนอกสุดของสิ่งติดตั้ง หรือกลอุปกรณ์ที่สูงจากพื้นดินเกิน 30 เมตร โดยจัดให้มีรั้วล้อมรอบเพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นเขตปลอดภัย (2) เครื่องหมายสีแดงสลับสีขาวไว้รอบด้านนอกของรั้วทุกระยะ 20 เมตร (3) ติดธงสีส้มไว้บนยอดของสิ่งติดตั้งและกลอุปกรณ์ (4) โคมไฟแสงสีแดงที่ให้แสงสม่ำเสมอคงที่ไม่กระพริบ มองเห็นได้รอบทิศทาง โดยติดตั้งไว้บนยอดของสิ่งติดตั้งและกลอุปกรณ์ และเปิดไว้ตลอดเวลา เพื่อให้มองเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า (5) โคมไฟที่แสงผ่านหมอกได้ โดยติดตั้งไว้บนยอดของสิ่งติดตั้งและกลอุปกรณ์ และเปิดในเวลากลางคืนหรือในเวลาที่มีอากาศมืดครึ้มหรือฝนตก เพื่อให้มองเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า 2 กิโลเมตร (6) ป้ายแสดงให้เห็นว่าเป็นเขตประกอบกิจการปิโตรเลียมอย่างน้อยหนึ่งป้าย ข้อ 3 ในบริเวณที่มีสิ่งติดตั้งและกลอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตและทดสอบหลุมปิโตรเลียม (1) กำหนดเขตปลอดภัยให้มีระยะไม่น้อยกว่า 10 เมตร จากส่วนนอกสุดของสิ่งติดตั้งหรือกลอุปกรณ์ โดยจัดให้มีรั้วล้อมรอบเพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นเขตปลอดภัย (2) เครื่องหมายสีแดงสลับสีขาวไว้รอบด้านนอกของรั้วทุกระยะ 20 เมตร (3) ป้ายแสดงให้เห็นว่าเป็นเขตประกอบกิจการปิโตรเลียมอย่างน้อยหนึ่งป้าย
ในกรณีที่สิ่งติดตั้งตามวรรคหนึ่งเป็นท่อขนส่งปิโตรเลียม ให้จัดทำแผ่นป้ายแสดงรายละเอียดบริเวณแนวท่อขนส่งปิโตรเลียม ดังต่อไปนี้ (1) ชื่อโครงการผลิตปิโตรเลียม (2) ชื่อผู้รับสัมปทาน (3) ประเภท ขนาด และระยะทางโดยประมาณของท่อขนส่งปิโตรเลียม (4) ชนิดของผลิตภัณฑ์ (5) ข้อความว่า “เขตประกอบกิจการปิโตรเลียมตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514” แผ่นป้ายตามวรรคสอง ต้องมีขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร และความยาว ข้อ 4 ในบริเวณที่มีสิ่งติดตั้งและกลอุปกรณ์ที่ใช้ในการเจาะหลุมและทดสอบหลุมปิโตรเลียม ในทะเล ผู้รับสัมปทานต้องกำหนดเขตปลอดภัยและจัดให้มีเครื่องหมายตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้ (1) กำหนดเขตปลอดภัยให้มีระยะไม่เกิน 500 เมตร จากส่วนนอกสุดของสิ่งติดตั้ง หรือกลอุปกรณ์ และให้มีการแจ้งเตือนเมื่อมีผู้ใดเข้าใกล้เขตปลอดภัย (2) โคมไฟแสงสีแดงที่ให้แสงสม่ำเสมอคงที่ไม่กระพริบ มองเห็นได้รอบทิศทางโดย ติดตั้งไว้บนยอดของสิ่งติดตั้งและกลอุปกรณ์ และเปิดไว้ตลอดเวลา เพื่อให้มองเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า (3) อุปกรณ์อย่างน้อยดังต่อไปนี้ เพื่อเปิดใช้งานในกรณีที่ทัศนวิสัยทางอุตุนิยมวิทยา มองเห็นได้ในระยะน้อยกว่า 2 ไมล์ทะเล (ก) แตรหมอกอย่างน้อยหนึ่งตัว ติดตั้งไว้บนสิ่งติดตั้งและกลอุปกรณ์ ในระดับ ความสูงไม่น้อยกว่า 6 เมตร แต่ไม่เกิน 30 เมตร เหนือระดับน้ำขึ้นเต็มที่ปานกลางหน้าน้ำเกิด (mean high water springs) ซึ่งสามารถได้ยินได้รอบทิศทาง และให้สัญญาณเป็นจังหวะเดียวกันตามรหัสมอร์สอักษร U ทุก 30 วินาที (ข) โคมไฟที่แสงผ่านหมอกได้ โดยติดตั้งไว้บนยอดของสิ่งติดตั้งและกลอุปกรณ์ เพื่อให้มองเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า 2 ไมล์ทะเล (ค) เครื่องส่งคลื่นวิทยุ ข้อ 5 ในบริเวณที่มีสิ่งติดตั้งและกลอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตปิโตรเลียมในทะเล ผู้รับสัมปทานต้อง กำหนดเขตปลอดภัยและจัดให้มีเครื่องหมายตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้ (1) กำหนดเขตปลอดภัยให้มีระยะไม่เกิน 500 เมตร จากส่วนนอกสุดของสิ่งติดตั้ง หรือกลอุปกรณ์ และให้มีการแจ้งเตือนเมื่อมีผู้ใดเข้าใกล้เขตปลอดภัย โดยจัดให้มีแผนที่แสดงเขตปลอดภัย และตำแหน่งที่ตั้งของสิ่งติดตั้งและกลอุปกรณ์ และเก็บรักษาไว้ ณ ที่นั้นเพื่อแสดงแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ (2) โคมไฟแสงสีขาวอย่างน้อยหนึ่งดวง ติดตั้งไว้บนสิ่งติดตั้งและกลอุปกรณ์ใน ตำแหน่งที่สามารถมองเห็นได้รอบทิศทางเมื่อเข้าใกล้ และอยู่ในระดับความสูงไม่น้อยกว่า 6 เมตร แต่ไม่เกิน 30 เมตร เหนือระดับน้ำขึ้นเต็มที่ปานกลางหน้าน้ำเกิด (mean high water springs) โดยมีกำลังส่องสว่าง ของแสงไฟอย่างน้อย 1,400 แรงเทียน และโคมไฟจะต้องให้สัญญาณปิด-เปิด เป็นจังหวะเดียวกันตาม รหัสมอร์ส อักษร U ทุก 15 วินาที โดยจะต้องเปิดในเวลากลางคืนหรือในเวลาที่มีอากาศมืดครึ้มหรือฝนตก เพื่อให้มองเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า 3 ไมล์ทะเล (3) โคมไฟแสงสีแดงที่ให้แสงสม่ำเสมอคงที่ไม่กระพริบ มองเห็นได้รอบทิศทางโดยติดตั้ง ไว้บนยอดของสิ่งติดตั้งและกลอุปกรณ์ และเปิดไว้ตลอดเวลา เพื่อให้มองเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า (4) อุปกรณ์อย่างน้อยดังต่อไปนี้ เพื่อเปิดใช้งานในกรณีที่ทัศนวิสัยทางอุตุนิยมวิทยามอง เห็นได้ ในระยะน้อยกว่า 2 ไมล์ทะเล (ก) แตรหมอกอย่างน้อยหนึ่งตัว ติดตั้งไว้บนสิ่งติดตั้งและกลอุปกรณ์ ในระดับ ความสูง ไม่น้อยกว่า 6 เมตร แต่ไม่เกิน 30 เมตร เหนือระดับน้ำขึ้นเต็มที่ปานกลางหน้าน้ำเกิด (mean high water springs) ซึ่งสามารถได้ยินได้รอบทิศทาง และให้สัญญาณเป็นจังหวะเดียวกันตามรหัสมอร์สอักษร U ทุก 30 วินาที (ข) โคมไฟที่แสงผ่านหมอกได้ โดยติดตั้งไว้บนยอดของสิ่งติดตั้งและกลอุปกรณ์ เพื่อให้มองเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า 2 ไมล์ทะเล (ค) เครื่องส่งคลื่นวิทยุ (5) ป้ายแสดงชื่อและประเภทของสิ่งติดตั้งและกลอุปกรณ์อย่างน้อยหนึ่งป้าย โดยใช้ตัวอักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษมีขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร ตัวอักษรสีดำบนพื้นสีเหลืองสะท้อนแสง และติดตั้งไว้ในบริเวณที่สามารถมองเห็นได้ง่าย ข้อ 6 ผู้รับสัมปทานต้องแจ้งการกำหนดเขตปลอดภัยและจุดที่ตั้งของเขตดังกล่าวเป็นหนังสือ ให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติทราบล่วงหน้าก่อนกำหนดเขตปลอดภัยไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และเมื่อ มีการเปลี่ยนแปลงจะต้องแจ้งให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติทราบทันที ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานต้องรื้อถอนสิ่งติดตั้งและกลอุปกรณ์ที่ใช้ในการเจาะหลุม ทดสอบหลุม และผลิตปิโตรเลียม ให้ผู้รับสัมปทานรื้อถอนรั้วและเครื่องหมายให้หมดภายในสิบห้าวันนับแต่ ข้อ 7 ผู้รับสัมปทานต้องบำรุงรักษารั้วและเครื่องหมายให้คงมีสภาพใช้การได้ดีอยู่เสมอ ข้อ 8 ในกรณีที่อธิบดีพิจารณาว่าการกำหนดเขตปลอดภัยและเครื่องหมายอาจไม่เพียงพอ ต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน หรืออาจยังไม่เหมาะสมต่อสภาพของการเจาะหลุม ทดสอบหลุม และผลิตปิโตรเลียมในบริเวณใด ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งให้ผู้รับสัมปทานกำหนด แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลง ระยะของเขตปลอดภัยหรือเครื่องหมายเท่าที่ไม่ขัดกับกฎกระทรวงนี้ ข้อ 9 ผู้รับสัมปทานที่มีสิ่งติดตั้งและกลอุปกรณ์ที่ใช้ในการเจาะหลุม ทดสอบหลุม และ
ให้ไว้ ณ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555
อารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน |